“Thailand Halal Assembly 2024” โชว์ศักยภาพฮาลาลไทยในยุคเทคโนโลยีดิจิตอล หวังสร้างโอกาสที่ยั่งยืนในอุตสาหกรรมฮาลาลไทย

เมื่อโลกก้าวสู่ยุคเทคโนโลยีดิจิตอล ทิศทางฮาลาลจะเป็นอย่างไร พร้อมค้นพบโอกาสใหม่ๆ ทางธุรกิจและเทคโนโลยีฮาลาลที่ตอบโจทย์อนาคตได้ กับงานฮาลาลที่ดีที่สุดในไทย “Thailand Halal Assembly 2024” ภายใต้แนวคิด “Toward Halal Trust Through Digital Technology 2 Ais” หรือ “ความไว้วางใจด้านฮาลาลผ่านเทคโนโลยี ดิจิทัลสองเอไอ” หวังสร้างโอกาสที่ยั่งยืนในอุตสาหกรรมฮาลาลไทย อีกทั้งช่วยให้ประเทศไทยได้ขยายส่วนแบ่งทางการตลาดในเศรษฐกิจฮาลาลโลก โดยงานจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 19 – 20 ธันวาคม 2567 ณ โรงแรมอัลมีรอช กรุงเทพฯ โดยได้รับเกียรติจาก นายเอกนัฎ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดงาน

 

รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการ ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และประธานจัดงาน Thailand Halal Assembly 2024 กล่าวว่า ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ศวฮ.) ได้เป็นเจ้าภาพหลักในการจัดงาน “Thailand Halal Assembly 2024 (THA2024)” การประชุมวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมฮาลาลนานาชาติ ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 11 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ใหม่และนวัตกรรมใหม่ๆ ในโลกฮาลาล ให้กับมุสลิมด้วยกันเอง และผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมแต่ที่มีความสนใจในอุตสาหกรรมฮาลาล โดยปี้นี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “Toward Halal Trust Through Digital Technology 2 Ais” หรือ “ความไว้วางใจด้านฮาลาลผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลสองเอไอ” ซึ่งปฎิเสธไม่ได้ว่าปัจจุบันโลกของเราก้าวสู่การเป็นโลกแห่งเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างสมบูรณ์แบบ สำหรับ 2 Ais ที่ต้องการนำเสนอในงานครั้งนี้ได้แก่ เอไอที่หนึ่ง คือ Actual Implementation ซึ่งเป็นการปฏิบัติงานผ่านการอัพสกิล ฝึกปฏิบัติด้วยหนึ่งสมองสองมือในการทำงาน เช่น งานการมาตรฐานฮาลาล, การวางระบบ HAL-Q, งานห้องปฏิบัติการนิติวิทยาศาสตร์ฮาลาล, งานพัฒนานวัตกรรม, งานพัฒนาฐานข้อมูล H numbers, การตัดสินทางศาสนา (ฟัตวา) เพื่อให้มนุษย์หรือคนยังคงสภาพผู้นำโดยมีเครื่องจักรและเอไอเป็นผู้ตาม และเอไอที่สอง คือ Artificial Intelligence โดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ เพื่อบริหารจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิต และช่วยให้เกิดความเชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์ฮาลาล”

 

ภายในงานประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆ อาทิ งาน IHSATEC (International Halal Science and Technology Conference) ครั้งที่ 11 และงาน HASIB (Halal Science, Industry and Business) งานประชุมวิชาการฮาลาลนานาชาติ ครั้งที่ 17 โดยมีหัวข้อการประชุมหลัก คือ “2 Als for Thailand’s Halal Trust & Confidence” และหัวข้ออื่นๆ ที่น่าสนใจอีกมากมาย อาทิ ฮาลาลกับสุขภาพและความงาม, ฮาลาลกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และ นวัตกรรม และ Halal Route Workshop ซึ่งทั้งสองงานประสบความสำเร็จอย่างยิ่งในการจัดการประชุมระดับนานาชาติด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม และธุรกิจฮาลาล โดยมีผู้เข้าร่วมจากมากกว่า 40 ประเทศ บทความวิชาการที่นำเสนอในการประชุม จะได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการนานาชาติ JHASIB หรือ Journal of Halal Science, Industry and Business ซึ่งจะเผยแพร่ปีละสองฉบับ เพื่อส่งเสริม งานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ฮาลาลในระดับสากล

 

รวมถึง โซน SMEs ฮาลาล การจัดแสดงศักยภาพผู้ประกอบการในการนำเสนอผลิตภัณฑ์นวัตกรรมที่ร่วมพัฒนาโดยศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งมีพัฒนาการทั้งกระบวนการผลิต ผลิตภัณฑ์ และการตลาดทั้งในและต่างประเทศ โดยผู้ประกอบการที่นำเสนอนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ในกิจกรรมนี้ ซึ่งได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิว่ามีความพร้อมและมีศักยภาพที่จะได้รับรางวัลนวัตกรรม SMEs ฮาลาล รวม 18 สถานประกอบการ จากผลิตภัณฑ์อาหารและสินค้าที่ไม่ใช่อาหาร เช่น Suwirun Tea Shop Thailand Premium Organic Tea, Madi Kombucha, Vanapan Vegan Nail Care และผลิตภัณฑ์อื่นๆ อีกมากมาย และที่ห้ามพลาดกับนิทรรศการ “Halal Trust Through Digital Technology 2AIs” ที่ผสานการนำไปปฏิบัติจริงกับปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับสินค้าและอุตสาหกรรมฮาลาลในประเทศไทย เกิดความน่าเชื่อถือและเสริมสถานะบนเวทีโลก ซึ่งการประชุมในครั้งนี้คาดว่าจะมี ประโยชน์ อย่างยิ่งต่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ อุตสาหกรรม และธุรกิจฮาลาล ช่วยให้ประเทศไทยขยายส่วนแบ่งทางการตลาดในเศรษฐกิจฮาลาลจากมูลค่าปัจจุบัน 6.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไม่รวมการท่องเที่ยวฮาลาล ยา และโลจิสติกส์ ซึ่งกำลังเติบโตอย่างรวดเร็วในขณะนี้

 

สำหรับผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์ฮาลาลและนวัตกรรมฮาลาล ค้นพบโอกาสใหม่ๆ ทางธุรกิจและเทคโนโลยีฮาลาลที่ตอบโจทย์อนาคต รวมถึงติดตามข่าวสารต่างๆ ของงานเพิ่มเติมได้ที่ www.Thailandhalalassembly.com , Facebook : Thailand Halal Assembly หรือโทร. 02-218-0618 รศ.ดร.วินัย กล่าวปิดท้าย

By admin

You missed

“เมดีซ กรุ๊ป” โชว์กำไรสุทธิ Q1/68 ที่ 74.63 ลบ. โตแรง 27% กวาดรายได้รวม 228.74 ลบ. เพิ่มขึ้น 20% YOY หลังความต้องการบริการด้านเซลล์ต้นกำเนิดสูง Dealer-Agent ขยายตัว หนุนทุกธุรกิจโตต่อเนื่อง นายแพทย์วีรพล เขมะรังสรรค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมดีซ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ MEDEZE เปิดเผยว่า สำหรับผลประกอบการของบริษัท กลุ่มบริษัทมีกําไรสุทธิในไตรมาสที่ 1 ปี 2568 อยู่ที่ 74.63 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 27% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่บริษัทมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 58.91 ล้านบาท ในขณะที่บริษัทมีรายได้รวมอยู่ที่ 228.74 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 20% จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่บริษัทมีรายได้รวม 190 ล้านบาท โดยบริษัทฯ มีอัตรากำไรสุทธิ อยู่ที่ประมาณ 31% – 40% ในไตรมาสที่ 1/2567 ไตรมาสที่ 4/2567 และไตรมาสที่ 1/2568 ซึ่งกลุ่มบริษัทฯ มีอัตรากำไรสุทธิ ที่แข็งแกร่ง และเติบโตอย่างต่อเนื่องนั้นเกิดจาก ในไตรมาสที่ 1/2568 กลุ่มบริษัทฯ สามารถรักษาระดับของอัตรากำไรขั้นต้น รวมถึงอัตรากำไรจากการดำเนินงาน ได้ในระดับที่ดี รวมถึงมีรายได้อื่นที่เพิ่มขึ้น และกลุ่มบริษัทมีค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ที่ลดน้อยลงจากการที่กลุ่มบริษัทฯ ได้รับสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีอากรในการยกเว้นการเสียภาษี ผ่านโครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI ทั้งนี้การเพิ่มขึ้นของกำไร และรายได้ เกิดจากภาพรวมในการจัดเก็บเซลล์ต้นกำเนิด หรือ Stem Cell ยังมีความสำคัญ โดยเฉพาะการจัดเก็บเซลล์ต้นกำเนิดสำหรับเด็กเกิดใหม่ ซึ่งจะได้เซลล์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด แข็งแรง และมีความพร้อมสำหรับการนำไปใช้ในอนาคต ด้วยความก้าวหน้าด้านนวัตกรรมทางการแพทย์ และมีงานวิจัยที่ได้รับการยอมรับ ทั้งนี้แนวโน้มในการจัดเก็บยังมีความต้องการที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งกลุ่มบริษัทฯ มีการเพิ่มขนาดทีมขายของกลุ่มบริษัทฯเอง รวมถึงเพิ่มพันธมิตรทางการค้า ที่เป็นตัวแทนให้บริการ (Dealer) และตัวแทนจำหน่าย (Agent) ทำให้สามารถเข้าถึงลูกค้าที่มีความต้องการมาจัดเก็บได้มากขึ้น และกลุ่มบริษัทฯ มีเครือข่ายพันธมิตรที่เป็นกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงสถานพยาบาลที่เพิ่มขึ้น ทำให้กลุ่มบริษัทฯ มีรายได้ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามเป้าหมายที่ได้วางไว้ รวมถึงในปี 2568 กลุ่มบริษัทฯ มีการเปิดให้บริการผลิตภัณฑ์ใหม่ คือ การจัดเก็บเซลล์รากผม ที่กลุ่มบริษัทฯ เริ่มมีรายได้ในไตรมาสที่ 1 ปี 2568 จำนวน 3 ล้านบาท โดยคิดเป็น 2% ของรายได้จากการขายและการให้บริการ